วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรังสี

ความสามารถในการทะลุทะลวงของรังสี (Penetration)

ความสามารถในการทะลุทะลวงของรังสี หรือการที่รังสีจะเดินทางไปได้ไกลเท่าไร ขึ้นกับ


1. ความหนาแน่นของสสารที่รังสีเดินทางผ่าน

ถ้าสสารมีความหนาแน่นต่ำ (อยู่กันห่างๆ เปรียบกับภาพซ้าย) รังสีก็จะผ่านไปได้ง่าย จึงไปได้ไกล
ถ้าสสารมีความหนาแน่นสูง (อยู่กันอย่างหนาแน่น เปรียบกับภาพขวา) รังสีก็จะผ่านไปได้ยาก จึงไปไม่ได้ไกล

 

 

 
 

2. จำนวนโปรตอนของสสารที่รังสีเดินทางผ่าน

ถ้าธาตุนั้นมีโปรตอนน้อย (อะตอมมีขนาดเล็ก เปรียบกับภาพซ้าย) รังสีก็จะผ่านไปได้ง่าย จึงไปได้ไกล
ถ้าธาตุนั้นมีโปรตอนมาก (อะตอมมีขนาดใหญ่ เปรียบกับภาพขวา) รังสีก็จะผ่านไปได้ยาก จึงไปไม่ได้ไกล

 
 

3. มวลของรังสี

รังสีที่มีมวลน้อย (เปรียบกับภาพซ้าย สุนัขตัวเล็กๆ) จะเดินทางได้ไกลกว่ารังสีที่มีมวลมาก (เปรียบกับภาพขวา การ์ฟิลด์-แมวอ้วน)

 

 
 

4. พลังงานของรังสี

รังสีที่มีพลังงานสูง มีอำนาจทะลุทะลวงสูง เดินทางได้ไกลกว่ารังสีที่มีพลังงานต่ำ
(ม้าลาย + มอเตอร์ไซค์ มีกำลังมากกว่าสิงโต จะไปได้ไกลกว่า)
 


 

5. ประจุของรังสี
รังสีที่มีประจุบวก ได้แก่ รังสีโปรตอน และรังสีแอลฟา (2 นิวตรอน + 2 โปรตอน) เมื่อเข้าไปท่ามกลางกลุ่มอะตอม อิเล็กตรอนของอะตอม ซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากจะเข้ามาหา (ประจุต่างชนิดกันดึงดูดกัน) เมื่อมีอิเล็กตรอนมารุมล้อมมากๆ แอลฟาหรือโปรตอนจึงเดินทางไปไหนไม่ได้ไกล
รังสีที่มีประจุลบ ได้แก่ รังสีบีตา (อิเล็กตรอน) ถึงแม้จะตัวเล็กมาก แต่เพราะมีประจุลบ เมื่อเข้าไปท่ามกลางกลุ่มอะตอม ก็จะถูกอิเล็กตรอนของอะตอมผลัก เมื่อเข้าใกล้นิวเคลียสซึ่งมีประจุบวก ก็จะถูกดูดเข้าไป แต่ก็จะถูกอิเล็กตรอนตัวอื่นผลักออกไปอีก เส้นทางคล้ายเป็นเส้นซิกแซก ดังนั้น แม้อิเล็กตรอนจะเดินทางไกลมาก แต่ได้ระยะทางน้อย
รังสีที่ไม่มีประจุ เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสีนิวตรอน จะมีอำนาจทะลุทะลวงสูง เนื่องจากรังสีเหล่านี้ไม่ดึงดูด หรือถูกผลัก จะถ่ายเทพลังงานให้เมื่อพบกับอิเล็กตรอนหรือนิวเคลียสตรงๆเท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นที่ว่าง โอกาสที่รังสีที่จะชนกับอิเล็กตรอนหรือนิวเคลียสน้อยมาก รังสีที่ไม่มีประจุจึงเดินทางไปได้ไกลมาก (อำนาจทะลุทะลวงสูง) 



ที่เราวาดว่ามีนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง มีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆนั้น 
จริงๆวาดออกมาไม่ได้ เพราะขนาดต่างกันมาก 
อะตอม มีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 10 ล้าน มิลลิเมตร
ขณะที่นิวเคลียส มีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 100,000 ล้าน มิลลิเมตร
ต่างกันประมาณ 10,000 เท่า 
ถ้าเปรียบให้อะตอมมีขนาดเท่ากับตึก 7 ชั้น
นิวเคลียสก็มีขนาดเพียงลูกปิงปองเท่านั้น และมีอิเล็กตรอนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าปลายเข็มวิ่งอยู่รอบๆ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าอะตอมมีแต่ที่ว่าง


ที่กล่าวว่า "กายเรามีแต่ที่ว่าง" บางท่านอาจรู้สึกว่าไม่จริง
เพราะถ้าดูร่างกาย ก็มีเนื้อเยื่อต่างๆเต็มไปหมด - กล้ามเนื้อ กระดูก ฯลฯ ไม่เห็นที่ว่าง
มองให้เล็กลงไปอีก ระดับเซลล์ ทั่วร่างก็มีเซลล์ต่างๆเต็มไปหมด ไม่เห็นที่ว่าง
ดูเข้าไปในเซลล์ แต่ละเซลล์ก็มีโมเลกุลของสารต่างๆเต็มไปหมด ไม่เห็นที่ว่าง
มองดูในแต่ละโมเลกุล ก็อัดแน่นไปด้วยอะตอมของธาตุต่างๆ ไม่เห็นที่ว่าง
แต่พอดูถึงระดับอะตอมแล้ว ก็จะเห็นว่า ร่างกายเรามีแต่ที่ว่างจริงๆ

คล้ายกับเอาผงซักฟอกมาละลายน้ำ แล้วตีให้เป็นฟองกองโต
จะเห็นอะไรที่เป็นตัวตนใหญ่โต ทั้งที่จริงๆแล้วมีแต่ที่ว่าง แทบไม่มีมวล

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น